สิ่งแรกที่เริ่มดำเนินการหลังจากที่ได้รับส่งมอบบ้านสวนต้นกล้ามาก็คือ ตรวจสอบระบบน้ำที่ใช้งานในบ้าน พบว่าถังแรงดันที่ใช้กับปั๊มน้ำเดิมแตก ไม่สามารถใช้งานได้ พยายามจะหาถังแรงดันมาเปลี่ยนก็หาอะไหล่ไม่ได้เนื่องจากเจ้าของเดิมสั่งจากลาซาด้า ตัวละไม่กี่ร้อย

ด้วยความที่อยู่นอกเมือง กลางสวนแบบนี้จะหาช่างมาทำให้แบบในเมืองก็ยาก มนุษย์เงินเดือนทำสวนแบบเราจึงจำเป็นต้องหาความรู้ในการรื้อและติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อใช้งานในบ้านเอง บทความนี้จึงเขียนเอาไว้เพื่อเตือนความจำตัวเองว่าต้องทำอะไรบ้าง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั๊ม

สรุปไว้เพียงแค่ 2 ชนิดก่อน ที่จำเป็นต้องใช้งาน ไว้มีเวลาค่อยมาเขียนบทความแนะนำประเภทของปั๊มแต่ละประเภทอีกครั้ง

1. ปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มหอยโข่ง จะพบเห็นใช้งานกันเยอะ ๆ ในสวนเกษตร ที่เรียกว่าปั๊มหอยโข่งเพราะรูปร่างหน้าตาจะคล้าย ๆ หอยโข่ง มีทางน้ำเข้า ทางน้ำออก มักจะไม่มีถังแรงดันส่วนมากจะใช้สูบน้ำจากบ่อหรือคลองแล้วก็ส่งไปใช้งานตามสวนเกษตรเลย จะเปิดใช้งานเป็นเวลานาน ๆ เปิดทีเป็นชั่วโมงก็ยังใช้งานได้ปกติ แต่ไม่เหมาะจะใช้ตามบ้านทั่วไป เพราะไม่ใช่ระบบอัตโนมัติ

2. ปั๊มอัตโนมัติ

จริง ๆ แล้วปั๊มอัตโนมัตินั้น มีการทำงานที่ไม่ต่างจากหอยโข่งสักเท่าไหร่นัก แต่เพิ่มระบบเปิดปิดอัตโนมัติมาให้ เมื่อมีการเปิดก๊อกน้ำ ปั๊มก็จะทำงานให้เอง ทำให้เสียบปลั๊กทิ้งไว้ได้ตลอดเวลา

แบบสำหรับติดตั้งปั๊ม

หลังจากที่ได้ศึกษาหาความรู้ในการติดตั้งจากหลากหลายแหล่ง ในที่สุดแบบที่จะติดตั้งก็ได้ออกมาตามรูปด้านล่างนี้

การออกแบบติดตั้งระบบน้ำภายในบ้านแบบมีบายพาส

  • ประปาหมู่บ้านวิ่งเข้าปั๊มน้ำ
  • แยกท่อจากท่อน้ำเข้าให้เป็นบายพาสออกไป ในกรณีที่ไฟดับ น้ำก็จะยังวิ่งผ่านท่อเข้าไปใช้งานในบ้านได้

สภาพบริเวณติดตั้งปั๊มน้ำเดิม

ลองดูสภาพเดิมก่อนที่จะทำการติดตั้ง ทำความสะอาดกันก่อน สกปรกจนไม่กล้าใช้น้ำเลย

ติดตั้งปั๊มน้ำอัตโนมัติ

ติดตั้งปั๊มน้ำอัตโนมัติ

ติดตั้งปั๊มน้ำอัตโนมัติ

หลังจากติดตั้งเสร็จ

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็ออกมาประมาณนี้แหละครับ

ติดตั้งปั๊มน้ำอัตโนมัติ

ทั้งหมดผมเองก็ศึกษาเอาจากอินเตอร์เน็ตนี่แหละ ผิดบ้างถูกบ้างก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ผลลัพท์ก็คือพื้นที่ดูสะอาดสะอ้าน น่าใช้งานและสามารถใช้น้ำได้ตามที่เราหวังไว้ครับ